Bridge Pattern คือแนวคิดในการยืมความสามารถจาก Class ภายนอกมาใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น Messi ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมแข่งขัน Tennis Wimbledon แต่ Messi ตี Tennis ไม่เป็น ก็เลยโทรหา Federer ให้มาช่วย พอถึงตอนแข่ง Federer ก็เข้าสิงในร่างของ Messi ทำให้ Messi สามารถตี Tennis ได้เหมือนกับ Federer
จากตัวอย่างจะสังเกตุว่า Messi ไม่มีความสามารถในการตี Tennis แต่ Messi สามารถตี Tennis ได้ โดยยืมความสามารถดังกล่าวมาจาก Federer นั่นคือความหมายของคำว่า Bridge นั่นเอง เดี๋ยวมาลองดู UML Diagram กันแล้วกันนะครับ
Bridge Pattern UML Diagram |
จาก UML Diagram ข้างต้น ด้านซ้ายมือคือ class หลักที่เราจะนำใช้งาน ในที่นี้เราจะเรียกว่า Abstraction ส่วนด้านขวามือคือ class ที่เราจะไปขอยืมความสามารถมา ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า Implementor ให้สังเกตุว่า class ที่ชื่อว่า ConcreteImplementorA และ ConcreteImplementorB ต่างก็ implement Implementor interface ด้วยกันทั้งคู่ จากใน Diagram เราจะเห็นว่า Abstraction class มี "has a" relationship กับ Implementor ซึ่งหมายความว่า Abstraction class จะมี Implentor อยู่ภายในนั่นเอง นอกจากนั้นใน Diagram ยังแสดงให้เห็นว่า ใน Abstract class นั้นมีความสามารถภายในตัวอยู่ ซึ่งในที่นี้คือ method ที่ชื่อว่า operation() แต่ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถเรียกใช้ method ที่ชื่อว่า implementation() จาก Implementor interface ได้ (เพราะมี class ที่ implement Implementor interface อยู่ภายใน)
สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเพิ่มเติม สามารถดู Source Code ตัวอย่างที่ implement Bridge Pattern ได้ที่นี่ครับ http://en.wikipedia.org/wiki/Bridge_pattern
แหล่งที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Bridge_pattern
No comments:
Post a Comment