ห้องสมุดก็มีการใช้ FlyWeight Pattern |
หากพูดคำว่า FlyWeight Pattern หลายๆคนอาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดถึงคำว่า "ห้องสมุด" คิดว่าหลายๆคนน่าจะคุ้นเคยมากกว่า เราเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมห้องสมุดสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้จำนวนมากได้ ทั้งๆที่หนังสือก็ไม่ได้มีจำนวนเล่มเท่ากับจำนวนผู้มาใช้บริการ
เหตุผลที่ห้องสมุดสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้จำนวนมาก ก็คือ ในขณะใดขณะหนึ่งมีจำนวนผู้ใช้ที่ต้องการอ่านหนังสือเล่มเดียวกันเพียงแค่จำนวนหนึ่ง (อาจจะ 4-5 คน แล้วแต่ความนิยมของหนังสือ) ทำให้ห้องสมุดเพียงแค่จัดหาหนังสือให้เพียงพอกับความต้องการใช้บริการในขณะเดียวกันก็เพียงพอแล้ว เพราะเมื่อผู้ใช้บริการแต่ละคนใช้บริการเสร็จ ก็จะนำหนังสือไปคืน ทำให้ผู้ใช้บริการคนอื่นสามารถใช้บริการได้อีก ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกันกับที่ใช้ใน FlyWeight Pattern นั่นเอง
FlyWeight Pattern เป็นเทคนิคในการนำ Object ที่สร้างไว้แล้ว กลับมาใช้ใหม่ โดยการสร้าง Object ใน FlyWeight Pattern จะทำผ่าน FlyWeight Factory ซึ่งจะทำหน้าที่บริหารการสร้าง instance (โดยการใช้ Object Pool เข้ามาช่วย) ซึ่งจะช่วยให้เราใช้ Memory ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับภาพที่จะแสดงให้ดูต่อไปนี้เป็น UML Diagram สำหรับ FlyWeight Pattern
FlyWeight Pattern UML Diagram |
จาก Diagram ข้างต้น จะเห็นว่า FlyWeight Factory จะมี Pool สำหรับเก็บ Object (ในที่นี้คือ FlyWeight Object) อยู่ภายใน ในการใช้งาน Client จะทำการสร้าง Object ผ่าน method ที่ชื่อว่า getFlyWeight() ของ FlyWeightFactory (ซึ่งใน method นี้จะมีการ implement logic ในการนำ Object ที่อยู่ใน pool กลับมาใช้ใหม่)
FlyWeight Pattern เหมาะสำหรับระบบที่มีการสร้าง Object ชนิดเดียวกันจำนวนมากๆ เพราะจะสามารถ Utilize การใช้ object pool ได้อย่างเต็มที่ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเพิ่มเติม สามารถดู Source Code ที่ implement FlyWeight Pattern ได้ที่นี่ครับ http://en.wikipedia.org/wiki/Flyweight_pattern
แหล่งที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Flyweight_pattern
ขอบคุณครับ
ReplyDeleteFlyWeight Pattern เป็นการ สร้าง object ขึ้นมา ไม่ใช่เป็น การนำ Object ที่สร้างไว้แล้ว กลับมาใช้ใหม่
ReplyDelete