Actions คือสิ่งที่ User สามารถกระทำกับ Application (เป็น Verb) ส่วน Objects คือวัตถุที่ถูกกระทำโดย User (เป็น Noun) User สามารถ Connect กับ Object ใน Application ได้โดยการกดปุ่ม Like (Like Action) นอกจากนั้นเรายังสามารถสร้าง Custom Actions และ Objects ขึ้นมาเองได้โดยเข้าไปกำหนดใน App Dashboard ยกตัวอย่างเช่น Cooking Application อาจจะสร้าง Object Type ที่ชื่อว่า "Recipe" และ "Menu" และสร้าง Action Type ที่มีชื่อว่า "Cook" เป็นต้น
เมื่อเราได้กำหนด Action Type และ Object Type ใน App Dashboard เสร็จเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปเราจะต้อง create และ publish Object ของเราบน Open Graph เราสามารถสร้าง Open Graph Object ขึ้นมาจาก Web Page โดยการใส่ meta tag (ที่กำหนดไว้ใน Open Graph Protocol) ซึ่ง meta tag
เมื่อ User มีการ take action บน Application ของเรา สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ Application จะเรียกใช้งาน Graph API เพื่อสร้าง Connection ระหว่าง User และ Object โดยการ publish New Instance ของ Action และ Object ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นโดยการสร้าง HTTP POST request ไปที่ me/
Diagram แสดงการทำงานเมื่อ User มีการ take Action บน Application |
เมื่อกระบวนการ POST เสร็จสิ้นสมบูรณ์ Open Graph Action ดังกล่าวก็จะไปปรากฎอยู่ในทุกๆ Social Channel ได้แก่ News Feed, Ticker และ Timeline
แหล่งที่มา: http://developers.facebook.com/docs/opengraph/keyconcepts/
No comments:
Post a Comment